makewebeasy    เว็บไซต์นี้ถูกสร้างจากระบบ MakeWebEasy.com คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ของคุณได้ที่  

สร้างเว็บฟรี

makewebeasy   เว็บไซต์นี้ถูกสร้างจากระบบ MakeWebEasy.com คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ของคุณได้ที่   คลิก
makewebeasy    เว็บไซต์นี้ถูกสร้างจากระบบ MakeWebEasy.com คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ของคุณได้ที่  

สร้างเว็บฟรี

makewebeasy   เว็บไซต์นี้ถูกสร้างจากระบบ MakeWebEasy.com   คลิก

เราจะซื้อปอมจากแหล่งไหนดี

โดยทั่วไปการตัดสินใจซื้อลูกปอมเมอเรเนี่ยนมาเลี้ยง ก็จะพิจารณาจากความน่ารัก ถูกชะตาและตามงบในกระเป๋า ถ้าถามทุกคนคงอยากได้ของดีที่ราคาถูกๆกันทั้งนั้น จริงไหมครับ

แต่ในความเป็นจริงเราทุกคนก็คงรู้ว่ามันไม่ค่อยมีโอกาสจะเป็นอย่างนั้นได้สักเท่าไหร่ คำว่าของดีราคาถูกนั้นย่อมหายากกว่าของที่ไม่ดีราคาถูกแน่ๆ ถ้าใครหาได้ นั่นเขาเรียกว่าคนตาถึงครับ

การเพาะพันธ์สุนัข กว่าจะได้ลูกสุนัขออกมาแต่ละตัวนั้น ย่อมต้องมีต้นทุน นั่นหมายความว่าปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคาลูกสุนัข ก็คือต้นทุนนั่นเอง ใครที่ต้นทุนต่ำ ก็สามารถขายในราคาที่ถูกกว่าได้ แต่หากต้นทุนสูงแล้วเอามาขายในราคาถูกก็มีแต่เจ๊งเท่านั้น พอจะเห็นภาพไหมกันครับ

ที่นี้เราลองมาดูปัจจัยทางด้านต้นทุนดูซิว่า มีอะไรกันบ้าง

1.สายพันธุ์สุนัข สุนัขแต่ละสายพันธุ์ย่อมมีราคาต่างกัน ตามความสวยงาม ความนิยม หรือหายาก

2.คุณภาพของพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ แน่นอนว่าสุนัขเกรดประกวดย่อมมีราคาสูงกว่าเกรดสวยงาม และเกรดเลี้ยงเล่น คุณภาพของลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่ที่คุณภาพดี มีโอกาสจะสวยกว่าและไม่แปลงร่างมื่อโตขึ้น

3.ต้นทุนการเลี้ยงดู เช่น ค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายโรงเรือน ค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่ายา ค่าอาหาร ค่ารักษา ค่าจ้างพนักงาน ค่าผสม ค่าผ่าคลอด ฯลฯ จะเห็นว่าการเลี้ยงสุนัขให้ดี มีค่าใช้จ่ายมากมายในทุกๆเดือน แตกต่างกันตามขนาดและคุณภาพของฟาร์ม ปัจจัยนี้ควรต้องพิจารณาให้ดี ไม่ควรซื้อหรือสนับสนุนฟาร์มประเภท puppy mill

4.ต้นทุนการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และต้นทุนในการประกวด ฟาร์มที่มีคุณภาพมักจะมีการวางแผนการบรีดที่มีแบบแผนชัดเจน จึงมักได้ลูกสุนัขที่คุณภาพดีออกมา บางตัวมีคุณสมบัติประกวด(show quality) ซึ่งเป็นที่หวงแหนของบรีดเดอร์ และเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป

สนามประกวดจึงเป็นแหล่งรวมสุนัขที่มีคุณสมบัติเหล่านี้มาแข่งขันกัน แน่นอนว่าการแข่งขัน ค่าใช้จ่ายในการนี้เกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นราคาของสุนัขที่ได้รับการพิสูจน์ตัวเองแล้วในสนามจึงมีราคาแพงมาก และถือเป็นสิ่งมีค่าหวงแหนของฟาร์มอีกด้วย

ถึงจุดนี้ทุกท่านจะเข้าใจแล้วว่าเหตุใดราคาลูกสุนัขจึงมีความถูกแพง แตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม หวังว่าความรู้จากบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านนำไปเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจก่อนซื้อลูกสุนัขมาเลี้ยงสักตัวนะครับ

ในบทต่อไปจะเขียนถึงลักษณะของฟาร์มปอมเมอเรเนียนแต่ละประเภทให้อ่านกัน ใครสนใจโปรดอ่านต่อ Part2

 

บทความนี้เขียนโดย 3P Pomeranian วันที่11/3/66 เพื่อเป็นความรู้ ยินดีให้นำไปเผยแพร่ได้ ไม่คิดลิขสิทธิ์ แต่กรุณาให้เครดิตมาที่ บทความต้นทางด้วย ขอบคุณครับ
ต่อจากตอนที่แล้ว ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักประเภทของฟาร์มสุนัขปอมเมอเรเนี่ยนและบรีดเดอร์ในประเทศไทย โดยจำแนกกลุ่มตามประสบการณ์ของผู้เขียน โดยแบ่งเป็น7กลุ่มแบบไหนบ้างมาดูกัน

1.The Iconic breeder & kennel

   คือบรีดเดอร์หรือฟาร์มที่เป็นผู้นำในสายพันธุ์ เขาจะมีสุนัขระดับอีลิท ทั้งลักษณะและสายเลือดที่ดีเยี่ยมที่เขาได้พัฒนาขึ้นมาอย่างยาวนานและจะเป็นต้นสายส่วนใหญ่กับสุนัขปอมเมอเรเนียนระดับประกวด (เป็นต้นสายของกลุ่ม2) หากมองย้อนไปในpedigree บางคอกอาจจะมีชื่อเสียงในระดับโลก

2.The professional show breeder

   คือบรีดเดอร์ที่พัฒนาสุนัขปอมเมอเรเนียน เพื่อการประกวดแข่งขัน เขาจะมีสุนัขสายเลือดดี ที่ได้รับเชื้อสายมาจากข้อ1 หรือในระดับเดียวกัน เขามีความรู้ในเรื่องมาตรฐานสายพันธุ์ และมีความรู้เรื่องการบรีดระดับสูง บรีดลูกสุนัขระดับประกวดออกมาได้บ่อย และบางทีอาจสร้างสายเลือดของตัวเองขึ้นมา บางคนสามาถก้าวไปสู่ระดับข้อ1ได้

3.The professional comercial breeder

   คือbreeder มืออาชีพ ที่เน้นบรีดลูกสุนัขที่มีลักษณะถูกต้องตามตรฐานสายพันธุ์เพื่อขายเป็นหลัก ทั้งในประเทศหรือส่งออก พวกเขามีความรู้เรื่องมาตรฐานสายพันธุ์ การบรีดเป็นอย่างดี และที่สำคัญคือมีความสามารถในการบริหารจัดการฟาร์มระดับอาชีพ ในการดูแลสุนัขจำนวนมาก รวมถึงควบคุมคุณภาพการบรีดให้ได้มาตรฐานซึ่งเป็นจุดสำคัญของกลุ่มนี้ พวกเขามักจะมีพ่อแม่พันธุ์ชั้นเยี่ยมที่ได้มาจากข้อ1และ2 และยังสามารถสร้างสายของตัวเองและมีสุนัขส่งเข้าประกวดเสมอเพื่อรักษาระดับชื่อเสียงของฟาร์ม

4.The professional hobby breeder

   คือบรีดเดอร์ที่มีความรักต่อสุนัขสายพันธุ์ปอม พวกเขาอาจจะเริ่มจากซื้อลูกสุนัขมาเลี้ยง ศึกษา และต้องการพัฒนาสายพันธุ์ พวกเขาอาจจะใช้เงินทุ่มซื้อสุนัขที่มีแววจากข้อ1และ2 และส่งเข้าประกวด จากนั้นต่อยอดความสำเร็จ โดยทุ่มซื้อเข้ามาเพิ่ม หรือลงทุนลงแรงพัฒนาสายพันธุ์เอง บรีดเดอร์กลุ่มนี้จะเน้นซื้อมาแต่ไม่เน้นขาย ไม่ได้เน้นเรื่องธุรกิจ การมีส่วนร่วมและชนะการประกวดคือเหตุผลหลัก พวกเขาอาจจะพัฒนาไปเป็นบรีดเดอร์ในข้อ 3 2ต่อไป

5.The general comercial breeder

   คือบรีดเดอร์ที่มีสุนัขต้นสายจากข้อ 2 3 หรือมีสุนัขสายของตัวเองที่พัฒนาขึ้นมา แล้วหาพ่อพันธุ์ที่จ่ายลูกตามลักษณะที่ตลาดต้องการมาผสม ทั้งเรื่อง หน้าตา สี ขน ลูกสุนัขปอมส่วนใหญ่จะเน้นจำหน่าย การเพาะพันธุ์สุนัขทำเป็นอาชีพหลัก ลูกสุนัขที่ลักษณะดีจะเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป พวกเขาอาจจะไม่ได้ลงลึกในมาตรฐานสายพันธุ์ ไม่ได้เข้มงวดในโปรแกรมบรีดและเพ็ดดิกรีมากนัก และส่วนน้อยที่จะมีส่วนร่วมในงานประกวดสุนัข

6. The general hobby breeder

   คือผู้เลี้ยงสุนัขปอมเมอเรเนียนทั่วไป เมื่อเวลาสุนัขเป็นสัดก็จะผสมเพื่อเลี้ยงลูกสุนัข หรือเพื่อจำหน่ายเป็นบางครั้งคราว การเลือกพ่อพันธุ์พิจารณาจากความชอบและความสะดวกทันเวลา อาจไม่ได้คำนึงถึงมาตรฐานสายพันธุ์ สุนัขที่นำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์อาจไม่มีใบเพ็ดดิกรี ไม่ถูกมาตรฐาน หรือมีข้อบกพร่องร้ายแรง(major fault) คุณภาพลูกปอมที่ได้เมื่อโตขึ้นคาดเดายาก จากโปรแกรมบรีดที่ไม่ชัดเจน พวกเขาอาจพัฒนาไปเป็นข้อ5 หรือ4ได้

7. The disgusting puppy mill breeder

   ข้อสุดท้าย เป็นผู้เพาะพันธุ์ที่เรียกว่าเอาแต่ประโยชน์จากสุนัข เน้นการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ลูกสุนัขจำนวนมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสุนัขพ่อแม่พันธุ์ รวมถึงลูกสุนัขอีกด้วย สุนัขจะถูกขังในกรงเก่าๆโดยไม่เคยปล่อย ละเลยเรื่องความสะอาด อาหารที่ดี ตรวจสุขภาพ วัคซีน เป็นต้นเพื่อลดต้นทุน ลูกหมาที่ขายเน้นยกครอก ขายส่ง ราคาถูก ระบายให้เร็วที่สุด โดยอาจจะเป็นโรค หรือพาหะของโรคแฝงอยู่ ผู้เพาะพันธุ์ในกลุ่มนี้ควรหลีกเลี่ยง ไม่สนับสนุน เพื่อให้หากินไม่ได้จนหมดไป

 

จะเห็นได้ว่าเมื่อจำแนกตามกลุ่ม สุนัขปอมเมอเรเนียนก็มีเกรดของเขาเอง ตามบ้านที่เขาอยู่ สายเลือด ชาติตระกูล ซึ่งคุณภาพกับราคาก็แปรผันไปตามกัน สำหรับท่านที่ชอบของถูกต้องระมัดระวังว่าจะได้ลูกสุนัขปอมจากกลุ่มที่ 7 ไว้ด้วย เพิ่มงบอีกสักหน่อยเพื่อได้สุนัขที่มีคุณภาพ จะดีกว่าในระยะยาว หวังว่าทุกท่านจะได้ไอเดียในการเลือกซื้อลูกสุนัขเพิ่มขึ้น ได้ปอมเมอเรเนี่ยนที่ถูกใจตรงตามงบและความสวยงามนะครับ

สำหรับ 3P pomeranian หากถามว่าจัดอยู่ในกลุ่มไหน ขอตอบว่าอยู่ในกลุ่มที่4ครับ

 

บทความนี้เขียนโดย 3P Pomeranian วันที่13/3/66 เพื่อเป็นความรู้ ยินดีให้นำไปเผยแพร่ได้ ไม่คิดลิขสิทธิ์ แต่กรุณาให้เครดิตมาที่ บทความต้นทางของเราด้วย ขอบคุณครับ
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้